วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม?


ฉันเคยถามตัวเองอยู่เสมอๆ ตั้งแต่สมันที่เรียนประถม มัธยม จนกระทั่งมหาวิทยาลัย ว่าเรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม แล้วเรียนไปทำไมเยอะแยะ 

เช่น ชั้นประถม จะเรียน บรรยัติไตรยางค์ ค.ร.ม. ห.ร.ม. ฯลฯ ไปทำไม

       ชั้นมัธยมต้น จะเรียน สมการ อสมการ ความน่าจะเป็น เลขยกกำลัง คู่อันดับ ฯลฯ ไปทำไม

       ชั้นมัธยมปลาย  จะเรียน เซต แคลคูลัส ตรีโกณมิติ เอกซ์โพเนนเชียล  ฯลฯ ไปทำไม


แถมมีเรื่องสถิติ ที่เกียจแสนเกียจทุกปี ไม่รู้จะเอามาใส่ในบทเรียนทำไม ไอ้คนแต่งหนังสือทำไมไม่ลองมานั่งเรียนเอง รู้ไหมว่ามันน่าเบื่อ แถมไม่สนุกเอาเสียเลย

แน่นอนฉันก็ถามตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าเรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม ทั้งๆที่เราใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันแค่ บวก ลบ คูณ หาร

เช่น เวลาซื้อแตงโม ลูกละ 40 บาท 1 ลูก จ่ายเงินแม่ค้าไป 100 บาท แม่ค้าต้องทอนเงินให้เรา 60 บาท (100 40 = 60)

       เวลาไป 7/11 ซื้อมาม่า ถุงละ 6 บาท 3 ถุง เราต้องจ่ายเงินให้พนักงาน 18 บาท (6 x 3 = 18)

       ซื้อขนมปังสังขยา 1 ชุด 20 บาท กับน้ำเต้าหู้ ถุงละ 5 บาท 1 ถุง ก็จ่ายเงิน 25 บาท (20 + 5 = 25)

       ซื้อเค้กขนาด 2 ปอนด์ มา 1 ก้อน ทางร้านตัดมาให้เราแล้ว ซึ่งมีทั้ง หมด 8 ชิ้น มี สมาชิกในครอบครัวอยู่ 4 คน ก็แบ่งได้คนละ 2 ก้อน (8 / 4 = 2)

เห็นไหมว่าไม่เห็นต้องเรียนอะไรยุ่งยาก ซับซ้อน แต่ถึงไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม แต่ฉันก็หนีมันไม่พ้นอยู่ดีพอจบ ม.ปลาย ก็นึกว่าจะ ไชโย! ได้แล้วเชียว คิดว่าไม่ต้องเรียน คณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยอีก ที่ไหนได้ ก็ ปี1 เทอมแรกก็จ๊ะเอ๋เลย คณิตศาสตร์ 101 Oh no! ตามมาด้วย 102 วิชาสถิติ 1 สถิติ 2 วิชาแคลคลูลัส 1 และ 2 แค่นั้นยังไม่พอ ยังมีวิชาอื่นที่เป็นวิชาเฉพาะของคณะนั้นๆที่จะต้องเรียน ประมาณว่าต้องเจอคณิตศาสตร์ ทุกเทอม ไม่เว้น Summer สุดยอดหนีไม่พ้นจริงๆ

สุดท้ายฉันก็ได้คำตอบว่าเรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม ตอนเรียนตัวคณะไปได้ สัก 3 4 ตัว แน่นอนที่ฉันเคยคิดว่าใช้แค่ แค่ บวก ลบ คูณ หาร ธรรมดานั้น ฉันคิดผิดถนัด เพราะมันมีอะไรมากกว่านั้น

1.        คณิตศาสตร์ทำให้เราเป็นคนมีเหตุมีผล
เช่น 1 + 1 = 2 ถ้า 1 อยู่ของมันโดดๆ มันจะไม่มีวันเท่ากับ 2 ได้เลย แต่มันมี 1 อีกตัวเข้ามาทำ operation ทำให้มันกลายเป็น 2 หรือเทียบได้กับเราอยู่บ้านของเราดีๆ (1) มีเพื่อนเราขี่รถมอร์เตอร์ไซต์มาชวนเราไปดื่มเหล้า (1) [เหตุ] แล้วเราก็ออกไป (ทำ operation) ทุดท้ายเรากับเพื่อนก็เมากลับบ้าน (2) [ผล] แฮ่ๆ ตัวอย่างไม่ค่อยจะดีสำหรับนักเรียนสักเท่าไหร ขอโทษทีนะคะ

2.        คณิตศาสตร์ทำให้เราเป็นคนมีระเบียบ
คุณเคยแก้โจทย์สมการ 3 4 ตัวแปรหรือมากกว่าไหม ถ้าเคยคุณคงจะรู้ว่ามันวุ่นวายแค่ไหนหากคุณเป็นคนไม่มีระเบียบ พอคุณเขียนสมการต้นเสร็จแล้วและคุณเริ่มแก้สมการไปเรื่อยๆ คุณจะหาสมการ ที่ 6, 7, 8, … ไม่เจอ สิ่งเดียวที่ฉันจะบอกเด็กทุกคนที่ฉันสอนว่า กรุณาวางเครื่องหมาย = ให้ตรงกันด้วยนะคะแน่นอนเด็กก็ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง ที่ฟังก็ดีไป เวลาเด็กแก้สมาการแล้วคำตอบไม่ถูก เวลาตามหาที่ผิดมันตามหาง่ายว่ามันผิดตรงไหน แต่ได้ที่ไม่ฟังซิ บอกได้คำเดียว สมน้ำหน้า บอกแล้วไม่เชื่อ ทีนี้แกก็ไปหาที่ผิดเอาเองก็แล้วกัน ฉันไม่ช่วยหาให้แกหรอก ยุ่งอย่างกับลายแทงขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า

3.        คณิตศาสตร์ทำให้เราเป็นคนรอบครอบ
นั่นแหละหนีไม่พ้นเรื่องสมการหลายตัวแปรอีกตามเคย  ถ้าคุณรีบแก้ไม่ระวังคำนวณผิดบรรทัดไหนบรรทัดนึง บรรทัดต่อไปก็จะผิดไปเรื่อยๆ ในที่สุดคำตอบที่ออกมาผิด คุณรู้ไหมสมการที่ฉันเคยแก้ให้ 3 4 หน้ากระดาษ A4 กว่าจะย้อนมาหาที่ผิดมันเสียเวลาพอๆกับทำใหม่ทั้งข้อ เพราะฉะนั้นเวลาทำต้องค่อยทำ ค่อยๆแก้ มันจะได้ไม่ผิด มันเป็นเครื่องหมายลบ ดันไปบวกซะนี่ ดูเครื่องหมายผิดหน่อยเดียวผิดทั้งข้อ

4.        คณิตศาสตร์ทำให้เราเป็นคนรู้จักพลิกแพลง
ฉันไม่รู้ว่าตอนนี้ ยังมีรายการ 180 IQ อยู่หรือเปล่า แต่เหมือนในช่องไม่เห็นแล้ว (ดู TV ไม่บ่อยน่ะ) สมัยเรียนประถม และ มัธยม มันเป็นหนึ่งในรายการที่ฉันชื่นชอบ ในรายการจะมีนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ 3 โรงเรียน แบ่งเป็น 3 ทีม ทีมละ 2 คน แล้วพิธีกรก็จะให้ตัวเลข มา 5 ตัว ให้แต่ละทีม หาวิธีการต่างๆวิธีอะไรก็ได้ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบตามที่พิธีกรกำหนด  เช่น 5 9 2 1 8 = 1025 เป็นต้น
ยกตัวอย่างง่ายๆละกัน 2 2 = 4
วิธีที่ 1             2 + 2 = 4
                            2             2 x 2 = 4
                               
3                    22 = 4
4         2 log 102 = 4
                        ฯลฯ

มันก็เหมือนชีวิตเรานั่นแหละ เช่น จะไปกรุงเทพไปอย่างไร   
1.        เดินไป
2.        ขับรถยนต์
3.        ขี่มอเตอร์ไซต์
4.        ขึ้นเครื่องบิน
5.        พายเรือ
     ฯลฯ

หรือทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ มันก็มีอยู่หลายวิธี 1 2 3 4 ...ตามวิธีการของแต่ละคน


ดังนั้น ที่เราเรียนเนื้อหาต่างๆมากมายในชั้นประถมและมัธยม เพราะเรายังไม่รู้ว่า ในอนาคตเราจะไปประกอบอาชีพใดในสังคมเป็นหมอ  เภสัชกร   ผู้พิพากษา วิศวกร เกษตรกร ฯลฯ  เราจึงต้องเรียนพื้นฐานคณิตศาสตร์ทั้งหมด แต่พอเราเข้ารั้วมหาวิทยาลัยวิชาคณิตศาสตร์ที่เราเคยเรียนในชั้นมัธยมก็จะถูกดึงมาเฉพาะส่วนที่สาขาวิชานั้นๆจำเป็นต้องใช้ และจะต้องศึกษาคณิตศาสตร์ในเรื่องนั้นๆให้ลึกเข้าไปอีกจนกลายเป็นความชำนาญเฉพาะด้านเพื่อที่คุณจะได้นำไปใช้ประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต ซึ่งแต่ละสาขาก็จะเรียนคณิตศาสตร์มากน้อยแตกต่างกันไป